เชิญชวนติดตามความเคลื่อนไหวและกิจกรรมห้องสมุดได้ที่ ระบบเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ http://lrls.nfe.go.th ตั้งแต่ มกราคม 2559 เป็นต้นไปค่ะ !

ข้อมูลท้องถิ่น


ประวัติความเป็นมา
อำเภอเมืองนครปฐม ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมืองเมื่อ พ.ศ. 2439 เรียกว่า "อำเภอพระปฐมเจดีย์" ขึ้นอยู่กับเมืองนครชัยศรีในขณะนั้น ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อ อำเภอพระปฐมเจดีย์ เป็น อำเภอเมืองนครปฐม ตั้งแต่พ.ศ. 2456 เป็นต้นมา


ที่ตั้งและขนาด
อำเภอเมืองนครปฐม มีพื้นที่รวมทั้งหมด 417.44 ตารางกิโลเมตร หรือ 260,900 ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 56 กิโลเมตร เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ประชากรอยู่หนาแน่น เป็นที่ตั้งศูนย์ปฏิบัติราชการจังหวัด แหล่งที่ตั้งพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม โดยมีส่วนราชการตั้งอยู่ที่ว่าการอำเภอเมืองนครปฐม ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดนครปฐม ประมาณ 12 กิโลเมตร


อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอดอนตูมและอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอนครชัยศรี และอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอบางแพ และอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอโพธารามและอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มภาคกลาง ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร และเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ที่มีประชากรหนาแน่น โดยมีสัดส่วนการใช้ประโยชน์พื้นที่ คือ พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ทำด้านเกษตรกรรม ใช้เป็นที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ประมาณร้อยละ 17 และด้านอุตสาหกรรมร้อยละ 3
แหล่งน้ำธรรมชาติ
แหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่อำเภอเมืองนครปฐมส่วนใหญ่เป็นคลอง หนอง บึง ขนาดเล็ก มีคลองธรรมชาติ จำนวน 42 สาย ระยะทางรวมประมาณ 209.7 กิโลเมตร คลองที่สำคัญ คือ คลองเจดีย์บูชา คลองท่าผา - บางแก้ว เป็นต้น โดยมีระบบส่งน้ำ และระบายน้ำของชลประทานครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ทำให้มีน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรตลอดปี

ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศมีลักษณะคล้ายคลึงกับพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ในที่รอบภาคกลางตอนล่าง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ โดยอุณหภูมิเฉลี่ย 30 องศาเซลเซียส และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 98 มิลลิลิตร/ปี แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือน มีนาคม - มิถุนายน
ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือน กรกฎาคม - ตุลาคม
ฤดูหนาว อยู่ระหว่างเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์

ด้านการเมืองการปกครอง
การปกครองท้องที่
การแบ่งเขตการปกครองท้องที่ ของอำเภอเมืองนครปฐม แบ่งออกเป็น 25 ตำบล
       การปกครองส่วนท้องถิ่น
1. เทศบาล
เทศบาลนคร 1 แห่ง คือ เทศบาลนครปฐม
เทศบาลตำบล 3 แห่ง คือ
1. เทศบาลตำบลธรรมศาลา
2. เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ
3. เทศบาลตำบลดอนยายหอม
2. องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 24 แห่ง ได้แก่
1. องค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ
2. องค์การบริหารส่วนตำบลสระกะเทียม
3. องค์การบริหารส่วนตำบลทัพหลวง
4. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง
5. องค์การบริหารส่วนตำบลมาบแค
6. องค์การบริหารส่วนตำบลบางแขม
7. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลง
8. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม
9. องค์การบริหารส่วนตำบลตาก้อง
10. องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลับ
11. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม
12. องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู
13. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองดินแดง
14. องค์การบริหารส่วนตำบลลำพยา
15. องค์การบริหารส่วนตำบลนครปฐม
16. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย
17. องค์การบริหารส่วนตำบลธรรมศาลา
18. องค์การบริหารส่วนตำบลสามควายเผือก
19. องค์การบริหารส่วนตำบลพระประโทน
20. องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจระเข้
21. องค์การบริหารส่วนตำบลถนนขาด
22. องค์การบริหารส่วนตำบลวังเย็น
23. องค์การบริหารส่วนตำบลสวนป่าน
24. องค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์

       ประชากร
มีประชากรทั้งสิ้น 172,062 คน แยกเป็นชาย 83,625 คน หญิง 88,437 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 400 คน/ตารางกิโลเมตร (ไม่รวมในเขตเทศบาล)

        ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
3.1 ไฟฟ้า
มีหน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้า สังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครปฐม
- จำนวนหมู่บ้านที่มีไฟฟ้า 212 หมู่บ้าน 2,9282 ครัวเรือน (92.6%)
3.2 การประปา
1. มีการประปาระดับอำเภอ และตำบล ดังนี้
- การประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดนครปฐม 1 แห่ง
- การประปาหมู่บ้าน จำนวน 428 แห่ง 155 หมู่บ้าน 20,816 ครัวเรือน (65.8%)
2. แหล่งน้ำกิน น้ำใช้ ประเภทอื่น ๆ
- บ่อน้ำบาดาล จำนวน 1,386 บ่อ
- บ่อน้ำตื้น จำนวน 46 บ่อ
- ถังเก็บน้ำ จำนวน 254 ถัง
- โอ่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 143,991 ใบ
3.3 โทรศัพท์
มีการให้บริหารติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ของ ทศท. โดยมีจำนวนคู่สาย 15,325 หมายเลย และการสื่อสารทางโทรศัพท์ของ TT&T จำนวน 16,486 หมายเลขมีโทรศัพท์ใช้ 220 หมู่บ้าน 12,550 ครัวเรือน (40%) โทรศัพท์สาธารณะ 520 เครื่อง
3.4 การคมนาคม
- ทางหลวงแผ่นดิน 4 สาย
- ทางหลวงชนบท 24 สาย
- ถนนลูกรังเชื่อมต่อตำบลและหมู่บ้าน 149 สาย
- รถไฟ 1 สาย มีรถไฟสายใต้และตะวันตกผ่านตลอดวัน
3.5 การสื่อสารและโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 2 แห่ง และที่ทำการไปรษณีย์อนุญาตเอกชน 6 แห่ง
- หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 10 ฉบับ
        ด้านเศรษฐกิจ
4.1 โครงสร้างทางเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 83 ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม และอีกร้อยละ 17 ประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น รับราชการ พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม รับจ้าง และบริการ เป็นต้น เฉลี่ยรายได้คนละประมาณ 60,000 - 80,000 บาท/ปี
4.2 การเกษตร
อำเภอมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งสิ้น 152,974 ไร่ ครอบครัวการเกษตร จำนวน 15,919 ครอบครัว สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ
4.3 การประมง
มีการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด เพื่อจำหน่ายและบริโภคใน 184 หมู่บ้าน จำนวน 1,470 ครัวเรือน พื้นที่ 13,033 ไร่ ได้แก่ ปลานิล ปลาแรด ปลาดุก ปลาตะเพียน และอื่น ๆ
4.4 การปศุสัตว์
เป็นอาชีพหลักอีกอย่างหนึ่งของอำเภอเมืองนครปฐม ซึ่งมีการรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ และฟาร์มขนาดใหญ่
4.5 อุตสาหกรรม
มีโรงงานอุตสาหกรรม ที่ได้รับอนุญาตดำเนินการและประกอบการ จำนวน 428 แห่ง จำนวนเงินทุนประมาณ 6,198,668,989 บาท แยกตามประเภทได้ดังนี้
1.โรงสีข้าว 53 โรง
2.โรงงานทำอาหารสัตว์ 16 โรง
3.โรงงานสกัดน้ำมันพืช 6 โรง
4.โรงงานทำอาหารสำเร็จรูป 120 โรง
5.โรงงานทำอาหารแห้ง 25 โรง
6.โรงงานผลิตผลไม้สด - แห้ง 14 โรง
7.โรงงานผลิตเหล็กเส้น - แผ่น 6 โรง
8.โรงกลึง 37 โรง
9.โรงซ่อมเครื่องยนต์ รถยนต์ 43 โรง
10.โรงซ่อมตัวถังรถยนต์ 32 โรง
11.โรงงานเฟอร์นิเจอร์ 21 โรง
12.โรงงานบรรจุ 3 โรง
13. โรงฆ่าสัตว์ 11 โรง
14. โรงงานผลิตคอนกรีต อิฐบล็อก 28 โรง
4.6 การพาณิชย์และการบริการ
อำเภอเมืองนครปฐม เป็นจังหวัดปริมณฑลที่เป็นประตูสู่ภาคใต้ เป็นแหล่งที่นักลงทุนได้ให้ความสำคัญ และสามารถทำกำไรต่อธุรกิจ เป็นแหล่งรองรับการขยายตัวของกรุงเทพมหานคร และเป็นแหล่งรวมวัตถุดิบด้านอาหาร (ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์) มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ โดยมีแหล่งพาณิชยกรรม ดังนี้
1. โรงแรม 20 แห่ง
2. ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 2 แห่ง
3. ตลาดกลางขายผลผลิตทางการเกษตร 2 แห่ง
4. ห้างหุ้นส่วน/บริษัท 1,122 แห่ง
5. ธนาคาร/สถาบันการเงิน 37 แห่ง
6. โรงงานอุตสาหกรรม 428 โรง
7. สถานบริการเริงรมย์ 35 แห่ง
ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในพื้นที่

4.7 สถานที่ท่องเที่ยว
อำเภอเมืองนครปฐม มีสถานที่ท่องเที่ยวด้านโบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรม และการกีฬา ที่สำคัญ ๆ ได้แก่
1. องค์พระปฐมเจดีย์/พระร่วงโรจนฤทธิ์/และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกที่สำคัญและเก่าแก่ของจังหวัดนครปฐม
2.พระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ตำบลพระปฐมเจดีย์ เป็นสถานที่สำคัญและมีชื่อมากของจังหวัดนครปฐม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 6 ทรงสร้างขึ้นในที่ที่ซึ่งเป็นที่ตั้งพระราชวังในสมัยโบราณตรงเนินประสาท เมื่อ พ.ศ. 2545 พระราชทานนามว่า พระราชวังสนามจันทร์ มีพระที่นั่งสำคัญ 4 องค์