เชิญชวนติดตามความเคลื่อนไหวและกิจกรรมห้องสมุดได้ที่ ระบบเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ http://lrls.nfe.go.th ตั้งแต่ มกราคม 2559 เป็นต้นไปค่ะ !

20 กันยายน 2556

ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินไทย-ญี่ปุ่น



๑. ผลิตภัณฑ์
๑.๑ ประวัติความเป็นมา

ประวัติของกิจการ เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ ท่านปัชญา บัวประเสริฐ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครปฐมได้แนะนำ ให้กำนันทิพวรรณ หิรัญ ชักชวนและรวมกลุ่มชาวบ้านมาอบรมการประดิษฐ์ดอกไม้จากดินไทย-ญี่ปุ่น เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายขยายโอกาส ให้กับประชาชน โดยได้เปิดอบรมที่สำนักงานเหล่าการชาดจังหวัดนครปฐมจำนวน ๓ คอร์สๆ ละ ๑๐ วัน รวม ๓๐ วัน โดยได้รับการสนับสนุน จากธนาคารออมสินและ ท่านชรินทร์ ปัวประเสริฐ ผู้ว่าราชาการจังหวัดนครปฐม ต่อมาจึงได้นำความรู้ที่ได้มาทำดอกไม้ประดิษฐ์ จากดิน ไทย-ญี่ปุ่น โดยจัดตั้งเป็นกลุ่ม อาชีพตำบลท่าตลาด (ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินไทย-ญี่ปุ่น) ซึ่งในปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน ๒๕ คน

๑.๒ อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ที่โดดเด่นของดอกไม้ประดิษฐ์จากดินไทย-ญี่ปุ่น มีสีสันสวยงามตามธรรมชาติได้เหมือนจริงมากที่สุด คงทนถาวรอยู่ได้นาน

๑.๓ มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
๑. มผช.
๒. OTOP คัดสรร ๒ ดาว

๑.๔ ความสัมพันธ์กับชุมชน
ฝีมือ แรงงาน คือคนในชุมชนอย่างแท้จริง มีการถ่ายทอดจึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง มีการรวมกลุ่มเตรียมสมาชิกให้ได้รับความรู้ สร้างความเข้าใจให้ตรงกันในการพัฒนา ภูมิปัญญา

๒. กระบวนการผลิต
๒.๑ วัตถุดิบและส่วนประกอบ

๑. ดินไทย
๒. ดินญี่ปุ่น
๓. สีน้ำมัน
๔. สีน้ำ
๕. สีโปสเตอร์
๖. กาวลาเท็ก
๗. กาวน้ำ
๘. กาวร้อน
๙. กาวแท่ง
๑๐. ถุงพลาสติกร้อน
๑๑. ถุงพลาสติกแก้ว
๑๒. ถุงกระดาษ
๑๓. ถุงหูหิ้ว
๑๔. ลวด
๑๕. เครื่องรีด
๑๖. พิมพ์ใบ-ดอก
๑๗. ถาชนะใส

๒.๒ ขั้นตอนการผลิต
๑. ผสมดิน+สี นวดให้เข้ากัน
๒. รีดให้บางตามขนาดของดอกไม้ที่ประดิษฐ์
๓. ตัด+ตกแต่ง+เพ้นซ์สี
๔. ประกอบเข้าดอก+เข้าช่อ+ใส่กระถาง

๒.๓ เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
-

๓. ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
๓.๑ กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

กลุ่มอาชีพตำบลท่าตลาด
ที่อยู่
๑๒/๓ หมู่ ๖
ตำบลท่าตลาด
อำเภอสามพราน
จังหวัดนครปฐม
รหัสไปรษณีย์ ๗๓๑๑๐
เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑-๐๐๕๘๖๘๖

ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
กลุ่มอาชีพตำบลท่าตลาด
ที่อยู่
๑๒/๓ หมู่ ๖
ตำบลท่าตลาด
อำเภอสามพราน
จังหวัดนครปฐม
รหัสไปรษณีย์ ๗๓๑๑๐
เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑-๐๐๕๘๖๘๖

๓.๒ แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
๑. สวนสามพราน
๒. องค์พระปฐมเจดีย์
๓. หุ่นขี้ผึ้ง
๔. ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์
ที่มา : http://www.otoptoday.com/wisdom/index.php?id=285

ผ้าใยบัว

 

๑. ผลิตภัณฑ์
๑.๑ ประวัติความเป็นมา
ได้มีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุและกลุ่มสตรีตำบลบางระกำขึ้น หลังจากนั้นทางกลุ่มได้ประชุมกันและเห็นว่าน่าจะมีอาชีพที่ทำให้ผู้สูงอายุ ในหมู่บ้านได้มีงานทำ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งผู้สูงอายุและกลุ่มสตรียังได้มีการพบปะกัน จึงได้มีกิจกรรม การทำดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัว จากนั้นจึงได้มีการต่อยอดและพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ออกมาโดยเลียนแบบความเหมือนจริงตามธรรมชาติ และได้ถ่ายทอดให้กับผู้สูงอายุที่ว่างจากการทำงาน และแม่บ้านบางคนยังสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เมื่อสามารถพัฒนารูปแบบให้มีความเรียบร้อย สวยงาม พอที่จะจำหน่ายได้ จึงได้ขึ้นทะเบียน OTOP ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางเลน และได้รับการสนับสนุน

๑.๒ อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ลักษณะที่โดดเด่นของดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัว มีสีสันสวยงามตามธรรมชาติ คงทนถาวรอยู่ได้นาน

๑.๓ มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
- เข้ารับการคัดสรร ปี ๒๕๕๓ ได้ระดับ ๒ ดาว

๑.๔ ความสัมพันธ์กับชุมชน
ฝีมือ แรงงาน คือ ผู้สูงอายุและกลุ่มสตรีในชุมชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีการถ่ายทอดจึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง มีการรวมกลุ่มเตรียมสมาชิกให้ได้รับความรู้ สร้างความเข้าใจให้ตรงกันในการพัฒนา ภูมิปัญญา

๒. กระบวนการผลิต
๒.๑ วัตถุดิบและส่วนประกอบ
- คีมตัดลวด
- คีมปากจิ้งจก
- ปากคีบ
- ท่อ PVC ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตามต้องการ
- กรรไกร
- ด้ายหลอด
- กาวลาเท็กซ์
- ลวดสำหรับขึ้นโครง
- ลวดพันสำเร็จสีเขียวขนาดต่าง ๆ
- ลวดพันสำเร็จสีขาวหรือสีอื่น ๆ
- Flora Tape
- อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้สำหรับทำดอกไม้
- ผ้าใยบัวสีต่าง ๆ ตามชอบใจ

๒.๒ ขั้นตอนการผลิต
คือการนำลวด สีชมพู ๑๒ นิ้ว จำนวน ๓ เส้น โดยการแยกไขว้กันกดกึ่งกลางลวดแล้วบิดให้แน่น ๑ รอบ แยกลวดแต่ละเส้นแล้วรูดให้มีส่วนโค้งจัดให้ได้รูปทรงป่องตรงกลางรวมปลายลวด ทั้งหมดจากนั้นหุ้มด้วยใยบัวสีชมพู มัดให้แน่นและเสียบก้านเสร็จพันด้วยเทปให้เรียบร้อย

ส่วนใบ

มีวิธีการทำ โดยการนำลวดสีเขียวยาว ๑๒ นิ้ว ๒ เส้น มาไขว้กันตรงจุดกึ่งกลาง ทำเหมือนดอกตูม รวมปลายทั้งสี่เส้นบิดรวมกันจัดให้เป็นรูปทรงใบไม้ หุ้มด้วยผ้าใยบัวสีเขียวดึงตึง มัดให้แน่น ตัดเศษลวดแล้วกั้นด้วยฟรอร่าเทปให้เรียบร้อยเตรียมไว้ ๔ ใบ(หรือมากกว่านั้น)
การประกอบดอก แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน
๑. นำเกสรตัวผู้ ๕ ชิ้น เกสรตัวเมีย ๑ ชิ้นมาพันด้วนฟอร่าเทปให้เกสรตัวเมียอยู่ตรงกลาง
๒. กลีบดอกชั้นแรกมี ๓ กลีบนำมามัดเรียงซ้อนกลีบให้เรียงกันเล็กน้อย และในชั้นที่๒ ให้เตรียมอีก ๓ กลีบมามัดเรียงสับระหว่างมัดด้วยได้
๓. ให้ดัดกลีบดอกและใบให้สวยงาม เพื่อนำไปจัดใส่แจกัน

๒.๓ เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
-

๓. ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
๓.๑ กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
กลุ่มชมรมผู้สูงอายุและกลุ่มสตรีตำบลบางระกำ
ที่อยู่
๔๕ หมู่ ๘
ตำบลบางระกำ
อำเภอบางเลน
จังหวัดนครปฐม
รหัสไปรษณีย์ ๗๓๑๓๐
เบอร์โทรศัพท์ ๐๓๔ - ๒๗๖๓๘๓

ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
กลุ่มชมรมผู้สูงอายุและกลุ่มสตรีตำบลบางระกำ
ที่อยู่
๔๕ หมู่ ๘
ตำบลบางระกำ
อำเภอบางเลน
จังหวัดนครปฐม
รหัสไปรษณีย์ ๗๓๑๓๐
เบอร์โทรศัพท์ ๐๓๔ - ๒๗๖๓๘๓

๓.๒ แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
- ที่ทำการกลุ่ม
ที่มา : http://www.otoptoday.com/wisdom/index.php?id=248

จักสานผักตบชวา

 
 
ประวัติความเป็นมา
                บ้านคลองนกกระทุง หมู่ 11 เป็นหมู่บ้านดั้งเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำท่าจีนที่อยู่นอกเขตเทศบาล ด้วยความที่บ้านคลองนกกระทุงอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ลักษณะการสร้างบ้านจึงถูกสร้างเป็นบ้านใต้ถุน ใต้ถุนสูงที่น้ำท่วมถึงในฤดูน้ำหลากปีละ 6 เดือน การคมนาคมส่วนใหญ่จึงใช้การสัญจรทางน้ำและด้วยความที่บ้านอยู่ริมแม่น้ำจึง มักจะมีผักตบชวาลอยตามน้ำมาเป็นประจำ ในช่วงแรกสร้างความลำบากในการเดินทางให้แก่ราษฎรบ้านคลองนกกระทุงเป็นอย่างมาก
                ประธานกลุ่ม(นางลออรัตน์ ศรีเทียมทอง) จึงได้ทดลองนำผักตบชวามาจักสานจนประสบความสำเร็จ จากผักตบชวาที่เป็นสิ่งที่ไร้ค่าในอดีต เมื่อนำมาผสานแนวคิดด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย จนนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ราษฎรในชุมชน และช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังได้จัดทำเป็นแผนการสอนเรื่องการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ให้กับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดบางภาษี ปี พ.ศ.2525 หลังจากนั้นนำมาฝึกสอนแก่ประชาชนในหมู่บ้านจนแพร่หลาย แทบทุกครัวเรือนใช้เวลาว่างจากการทำงาน ทำสวน มาจักสานผักตบชวา ซึ่งในขณะนั้นมีสมาชิกเพียง 15 คน และได้มีหน่วยงานต่างๆของภาครัฐเข้าไปให้การสนับสนุน พัฒนาและปรับปรุงจนผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานผักตบชวาเป็นที่ยอมรับจากตลาดมาจน ถึงปัจจุบัน
            
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1.ผักตบชวา
2.สีย้อมผักตบชวา
3.หุ่นรูปแบบต่างๆ
4.น้ำมันทากระเป๋า
5.ผ้า + ซิป
ผักตบชวาที่ตากแห้งแล้ว น้ำมันทากระเป๋า 6.หูกระเป๋าไม้ / หนัง
 
ขั้นตอนการผลิต
- นำผักตบชวามาตากแดดให้แห้ง
- หลังจากนั้นให้นำผักตบชวาที่แห้งแล้วมาย้อมสีตามต้องการ แล้วทิ้งไว้ให้แห้งสนิท
- นำผักตบชวาที่ย้อมสีนั้นมาขึ้นรูปผลิตภัณฑ์
- เมื่อได้ผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการแล้วให้ทาด้วยน้ำมัน
- จากนั้นนำมาตกแต่งให้สวยงาม
ข้อมูลติดต่อ:
กลุ่มผู้ผลิต อาชีพจักสานผักตบชวาคลองนกกระทุง
สถานที่ผลิต บ้านเลขที่ 15 หมู่ 11 ตำบลคลองนกกระทุง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม 73130
โทรศัพท์ 085-1295659
 
ที่มา

ข้าวหลามนครปฐม

    

         ข้าวหลามของจังหวัดนครปฐมมีกำเนิดแห่งแรกที่บริเวณชุมชนวัดพระงาม บรรพบุรุษของคนในชุมชนนี้อพยพถิ่นฐานมาจากถิ่นอื่นอาจอพยพมาเอง หรือเป็นสะใภ้ของหมู่บ้านนี้ โดยตั้งหลักแหล่งบริเวณทางรถไฟ ซึ่งพิจารณาแล้วว่าจะมีความเจริญต่อไป ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ย้ายถิ่นมาจากบริเวณลำลูกบัว ทุ่งสมอ และอุหล่ม ในเขตอำเภอบางเลน อันเป็นถิ่นที่มีลาวโซ่ง หรือไทยทรงดำอาศัยอยู่ คาดว่าในจำนวนผู้ย้ายถิ่นครั้งนั้นน่าจะมีคนไทยเชื้อสายลาวรวมอยู่ด้วย ซึ่งประกอบอาชีพหลักคือทำนา และทำข้าวหลามกันทุกครัวเรือนในช่วงเทศกาล

          ข้าวหลามนครปฐมเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างมากของคนทั่วไป และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมานครปฐมเพื่อซื้อกลับบ้าน ในช่วงภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาทอดพระเนตรการทำข้าวหลามจากแม่ทรัพย์ ทำให้ข้าวหลามแม่ทรัพย์ขายได้มากกว่าผู้ขายรายอื่นๆ ในยุคนั้นเช่น แม่จิตต์ แม่หนู อาจเรียกว่าเป็นยุคกลางของข้าวหลามที่มีอายุตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา ยุคนี้เป็นยุคทองของข้าวหลามนครปฐม

ข้าวหลามเสวย
          ข้าวหลามเสวย เป็นคำเรียกขานข้าวหลามนครปฐม เมื่อครั้งสมัยที่นายพลวงศาโรจน์ และนายกเทศมนตรีสมัยนั้น คือ นายสว่าง แก้วพิจิตร ประสงค์ให้มีการสาธิตการทำข้าวหลามถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเจ้าโบดวงแห่งสวีเดน ซึ่งเป็นพระราชอาคันตุกะ
ณ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ในวโรกาสที่เสด็จเยือนประเทศไทยและจังหวัดนครปฐมเมื่อปีพุทธศักราช 2503 ด้วยความคุ้นเคยเป็นอันดีกับผู้ใหญ่แจ่ม จึงขอให้แม่ทรัพย์ลูกสาวของผู้ใหญ่แจ่ม
ผู้ที่ได้ชื่อว่ามีฝีมือในการทำข้าวหลามอร่อยมาก ทำการสาธิตการทำข้าวหลามถวายต่อหน้าพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเจ้าโบดวงแห่งสวีเดน จึงทำให้มีคนเรียกขานกันว่า "ข้าวหลามเสวย"

          ข้าวหลามนครปฐมนั้น มีขั้นตอนการทำยุ่งยากกว่าข้าวหลามหนองมน และต้องทำเองทุกขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ การบรรจุลงกระบอกการเผา และการจำหน่าย โดยสรุปมีขั้นตอนการทำดังนี้

1. การเตรียมวัตถุดิบ ได้แก่
          1) การเลือกไม้ไผ่ ไม้ที่นิยมใช้ คือ ไม้ไผ่ป่า ลักษณะของไม้ไผ่ที่ดี คือ ต้องคัดเลือกเอาเฉพาะไม้ที่ได้กำหนดตัดและมีเยื่อหนาเท่านั้นความร้อนที่พอดีขณะเผา และระยะเวลาที่เผาจะทำให้เยื่อแยกออกจากกระบอกไม้ไผ่ เมื่อเย็นลงจะหดตัวพันข้าวเหนียว ทำให้สามารถเคาะเนื้อข้าวหลามจากกระบอกได้โดยไม่ต้องผ่า ไม้ไผ่ป่าที่นำมาทำเป็นกระบอกได้มาจากกาญจนบุรี สิงห์บุรี และจากเขมร ซึ่งไม้จากกาญจนบุรีมีคุณภาพดีที่สุด ในแต่ละวันต้องใช้ไม้ไผ่สำหรับทำกระบอกข้าวหลามประมาณ 150-200 ลำ ลำละประมาณ 10 กระบอก
          2) การทำจุกสำหรับปิดปากกระบอก ทำจากใบตอง เพื่อให้เกิดความหอมขณะเผา ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จะต้องทำจุกปิดเอง ซึ่งเดิมเก็บแยกกับตัวกระบอก ต่อมาเพื่อแก้ปัญหาข่าวลือที่ว่ามีสัตว์เข้าไปหลบภายในกระบอกจึงปิดจุกทันทีที่เลื่อยไม้ไผ่เสร็จ
          3) การเตรียมข้าวเหนียว น้ำตาล เกลือ ถั่วดำ กะทิ และวัตถุดิบอื่นๆ เช่น ไข่ ที่มีการผสมรวมกับข้าวหลาม เช่น ข้าวหลามสังขยา

2. การบรรจุลงกระบอก ทำดังนี้
          1) เปิดฝาจุกออก และเป่าลมเพื่อไล่ลมในกระบอก
          2) กรอกข้าวเหนียวดิบลงกระบอก ตามด้วยกะทิที่ผสมเกลือและน้ำตาลแล้ว
          3) ปิดจุกตามเดิม

3. การเผา ลักษณะของเตาเผาทำเป็นราว มีขนาดความยาวราวละ 1-2 วา จำนวนของข้าวหลามที่เผาได้ในแต่ละราวขึ้นกับความยาวราว ซึ่งเดิมทำเป็นราวตั้งกับพื้น ต่อมาพัฒนาเป็นราวที่ยกพื้นสูงขึ้นเพื่อให้ยืนทำได้ ระยะเวลาของการเผาแตกต่างกัน โดยเตาแรกต้องใช้เวลาเผาประมาณ 2-3 ชั่วโมง เตาต่อมาใช้เวลาเผาน้อยลงได้ ดังนั้นงานเผาข้าวหลามจึงเป็นงานที่ใช้เวลามาก และผู้ทำต้องอดทนต่อความร้อน

4. การจำหน่าย ช่วงแรกเป็นการผลิตเองขายเอง จึงต้องใช้เวลาตลอดทั้งวันในการเตรียมงานและการขาย ต่อมาผู้ผลิตส่งให้พ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อเพื่อไปขายต่อให้ ซึ่งกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตจำนวนหนึ่งต้องเลิกอาชีพนี้ไป

          เมื่อทำเสร็จทำขั้นตอนข้างต้นแล้วก็จะได้ข้าวหลามที่หวานมัน อร่อยตามฉบับแบบของข้าวหลามนครปฐม หากต้องการให้รสออกมาแบบใด สามารถเติมส่วนนั้นได้ตามต้องการ เช่น ต้องการให้มัน และหวาน ให้เติมกะทิและน้ำตาลเพิ่ม โดยรสชาติของข้าวหลามนครปฐมอาจแตกต่างกันบ้างเพราะเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านแต่ละท้องถิ่น ดังนั้น รสชาติจึงขึ้นอยู่กับสูตรของแต่ละท้องถิ่น

ที่มา
http://www.lib.ru.ac.th/journal/nakornpathom/nakhonpathom_rice.html

18 กันยายน 2556

หมอนเปลือกถั่วงอก

“หมอนเปลือกถั่วงอก”  แนวคิดภูมิปัญญาท้องถิ่น


หมอนเปลือกถั่วงอก สินค้าโอทอปภูมิปัญญาไทยของกลุ่มสตรีแม่บ้านที่  ต.อ้อมใหญ่  อ.สามพราน  จ.นครปฐม  เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้นำเปลือกถั่วงอกอันไร้ค่ามาดัดแปลงเป็นหมอน เพื่อสุขภาพได้อย่างลงตัว  แม้วันนี้หมอนเปลือกถั่วงอกจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง  แต่ก็นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของผู้คิดค้น  และกลุ่มแม่บ้านเอง  ทว่าความสำเร็จที่ได้นั้นใช่ว่าจะราบรื่นเสมอไปต้องผ่านอุปสรรคไม่ว่าจะเป็น คู่แข่งระดับบิ๊ก    หรือแม้กระทั่งคนที่จ้องจะเลียนแบบนั่นเอง         คุณสุดาจันทร์  ศานติสาธิตกุล ผู้นำกลุ่มและเป็นริเริ่มการผลิตหมอนเปลือกถั่วงอก  เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปว่า  ทำหมอนเปลือกถั่วงอกมา 7 ปีแล้ว เดิมทีก็ไม่มีพื้นฐานการทำหมอนมาก่อน  จนกระทั่งมีญาติซื้อหมอนเปลือกข้าวชนิดหนึ่งของต่างชาติมาก็เลยเกิดไอเดีย ว่าที่จริงแล้วน่าจะมีภูมิปัญญาไทยแต่ก็ยังค้นไม่เจอว่าควรจะเป็นอะไร  บังเอิญได้ไปเห็นหมอนที่ทำจากถ่าน ทำจากใบชา จึงเกิดความคิดว่าน่าจะสามารถเอาอะไรมาทำได้อีกที่เป็นภูมิปัญญาไทยแท้  เลยนึกขึ้นได้ว่าคำว่าเปลือกถั่วงอกเหมือนกับว่าจะเคยได้ยินคุ้นๆ  เพราะเนื่องจากแม่สามีของเธอเป็นคนจีนบอกว่าเคยทำหมอนเปลือกถั่วงอกให้ลูก นอน ก็เลยจุดประกายความคิดที่จะทำหมอนเปลือกถั่วงอก   ด้วยความที่เธอไม่รู้แม้กระทั่งกรรมวิธีการผลิต  รวมถึงทุกขั้นตอนในการทำเธอจึงได้ไปศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นจริงเป็นจัง  และปรับปรุงเป็นเวลาเกือบ1 ปี จนกระทั่งรู้ขั้นตอนในการทำเป็นอย่างดี
         “ก็มีคนพูดดูถูกว่ากับอีแค่หมอนเปลือกถั่วงอกใครๆก็ทำได้  คนที่คิดว่ามันง่ายเขาไม่รู้หรอกว่ากว่าจะมาเป็นรูปเป็นร่างเช่นนี้ตอนได้มา มันเป็นอย่างไรมันไม่ได้มาแต่เปลือกก็จะมีสิ่งเจอปนมาด้วยก็คือ ถั่ว  หัว ราก หรือว่าถั่วเขียว  สิ่งนี้คือความยุ่งยากที่จะต้องทำการคัด   การทำทุกขั้นตอนเราใช้ฝีมือแรงงานหมด แม้กระทั่งการฝัด  เราไม่ได้ใช้เครื่องจักรที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงใดๆเลย  การคัดเลือกถั่วงอกเราก็จะทำการคัดเลือกเองเพราะถ้าหากเราไปรับจากตลาดมันก็ จะเป็นแหล่งเชื้อโรคซึ่งไม่เหมาะกับการเอาไปใช้  เพราะหมอนเราเป็นหมอนเพื่อสุขภาพต้องปลอดเชื้อโรค  แต่ก่อนที่จะรับมาจากโรงงานเราก็ต้องเข้าไปดูที่โรงงานอีกว่ามันมีที่มาที่ ไปอย่างไรมันเกี่ยวพันกับสารเคมีหรือเปล่า”
          เมื่อไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค  และพยายามที่จะทำผลิตภัณฑ์ของตนเองออกมาให้ดีที่สุด   อีกทั้งไม่เก็บคำพูดดูถูกใดๆมาบั่นทอนกำลังใจ  คุณสุดาจันทร์จึงเดินหน้าที่จะปรับปรุง  และพัฒนาหมอนเปลือกถั่วงอกของเธอให้ดีขึ้นเรื่อยๆ  จากไม่มีใครรู้จัก  ก็มีคนรู้จักสินค้าเพิ่มมากขึ้น   เมื่อตลาดขยายขึ้นเรื่อยๆกำลังการผลิตก็ย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย  เหตุนี้เองจึงมีกลุ่มสตรีแม่บ้านเข้ามาช่วย  เพราะที่ทำก็ทำคนเดียวเป็นของตัวเอง   ต่อมาจึงกลายเป็นกลุ่มอาชีพที่หน่วยงานภาครัฐให้ความสนใจและเข้ามาให้ความ ช่วยเหลือดูแลในส่วนของเงินทุน  การบริหารการจัดการ  การขอใบอนุญาต  รวมถึงการตั้งมาตรฐาน    จนกระทั่งได้เข้าคัดสรรผลิตภัณฑ์และได้พิจารณาให้เป็นโอทอประดับ 3 ดาว

 หลาย คนก็คงอยากจะทราบถึงสรรพคุณของหมอนเปลือกถั่วงอกว่ามีคุณสมบัติเช่นไร  ทำไมถึงเรียกว่าหมอนเพื่อสุขภาพ  สามารถที่จะรักษาโรคได้จริงหรือเปล่า  คุณสุดาจันทร์  ได้ให้คำตอบกับเราว่า
          “หลายคนคงคิดว่าหมอนสามารถรักษาโรคได้  แท้ที่จริงมันเป็นแค่การบำบัด  บรรเทาอาการปวดต้นคออย่างหนึ่ง แต่เหตุที่เรียกว่าหมอนเพื่อสุขภาพนั้น เพราะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการนอน  บางคนอาจจะแพ้หมอนนุ่น  หรือว่าใยสังเคราะห์  เพราะเป็นเส้นใยเราไม่สามารถที่จะไปปรับเปลี่ยนอะไรได้  แต่ถ้าเป็นหมอนที่ทำจากเปลือกถั่วงอกนอน  สามารถปรับไปตามสรีระต้นคอให้สูง หรือต่ำได้ โดยเอาเปลือกถั่วงอกที่มีซิปล็อคอยู่ในตัวถ่ายออกมาแล้วส่วนที่เรานำออกมา สามารถเก็บไว้ก็โดยการนำไปแช่ตู้เย็นเพื่อเอาไว้ใช้คราวหน้า และยังเป็นการรักษาความสดของเปลือกถั่วงอก  
          หัวใจ สำคัญก็คือมันไม่เป็นเส้นใยก็เลยไม่ดูดขี้ฝุ่นให้เข้าไปในหมอนเหมาะสำหรับคน ที่เป็นภูมิแพ้เป็นอย่างยิ่ง  สามารถระบายอากาศได้เพราะหมอนจะมีโพรงอากาศมากมาย  โพรงอากาศนี้เวลานอนจะทำให้เรารู้สึกว่านอนแล้วหัวเย็น  เท้าอุ่น  ทำให้รู้สึกสบายในการนอน  และที่สำคัญไม่มีสารเคมี  เพราะเราใช้ระบบน้ำในการปลูกถั่วงอก”
          ในส่วนของการรักษาความสะอาด  คุณสุดาจันทร์   บอกว่าไม่ยากเพียงแค่เราเอาถุงที่บรรจุเปลือกถั่วงอกเอามาตากทั้งใบประมาณ เดือนละ 1-2 ครั้ง แต่ไม่ต้องเอาเปลือกออกมา  หนึ่งใบอยู่ได้เป็นปี  เพียงแต่หมอนไม่สามารถนำมาซักได้
สิ่งที่ผลักดันให้คุณสุดาจันทร์และ ทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จและสามารถยืนด้วยลำแข้งของตนเองได้ก็คงจะเป็น ความตั้งใจจริง ความขยัน  อดทน  มุ่งมั่นที่จะผลิตสินค้าออกมา โดยไม่หวั่นว่าจะมีใครนำไปลอกเรียนแบบ และผลิตสินค้าด้วยคุณภาพปราศจากเชื้อโรคนั้นก็ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของ สินค้าเลยทีเดียว
          ปัจจุบันหมอนเปลือกถั่วงอกยังไม่มีจำหน่ายทั่วประเทศ  มีจำหน่ายเฉพาะที่ร้านสุขภาพพุทธมณฑลสาย 2   เวชกรรมท่าดินแดง  และที่ฉะเชิงเทรา   ส่วนมากจะขายที่ร้านนวดแผนโบราณ   แต่หากใครสนใจที่จะลองซื้อไปใช้หรือรับไปจำหน่าย  ก็ติดต่อได้ที่ 6  ซ.เจริญนคร 28  ถ.เจริญรัถ  แขวงคลองต้นไทร  เขตคลองสาน  กรุงเทพฯ  10600  โทร. 0-2438-3147, 08-6983-2122   Fax. 0-2861-3074   หรือทางเวปไซด์  http://mornkunya2007.saiyaithai.org  คุณสุดาจันทร์ฝากมาบอกว่าบริการจัดส่งทางไปรษณีย์ให้ฟรีทั่วประเทศไม่จำกัด จำนวนซื้อใบเดียวก็ส่งได้



ที่มา:หมอนเปลือกถั่วงอก แนวคิดภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างรายได้ให้กลุ่มแม่บ้าน